แก้วเก็บความเย็นสุดคูล

ปัจจุบันสภาพอากาศของประเทศไทยนั้นมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นจนทำให้ความสะดวกสบายต่าง ๆ ในการทำกิจกรรมนั้นน้อยลง ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารดับร้อนต่าง ๆ เช่น ไอศกรีม น้ำอัดลม น้ำแข็งไสต่าง ๆ ที่ทำให้อาหารเหล่านี้ละลายหรือหมดความเย็นไปอย่างรวดเร็ว โดยในยุคสมัยปัจจุบันนี้ได้มีผู้คิดค้นอุปกรณ์ที่สามารถเก็บความเย็นไว้ ถึงแม้ว่าสภาพอากาศภายนอกนั้นมีอุณหภูมิที่ร้อนเกินไป ความเย็นของอาหารอย่างเช่น เครื่องดื่มก็จะมีระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น อุปกรณ์ชิ้นนี้เรียกว่า แก้วเยติ ที่ใครหลาย ๆ คนต่างมีกันติดบ้านกันแล้ว วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ชิ้นนี้กันว่าเพราะเหตุใด ทำไมถึงรักษาความเย็นไว้ได้ วันนี้เรามีคำตอบแล้วค่ะ  

แก้วเยติทำมาจากอะไร 

แก้วเยตินั้นส่วนใหญ่ทำมาจากวัสดุประเภทสแตนเลสที่มีคุณสมบัติการป้องกันการเกิดสนิม โดยกระบวนการทำแก้วเยตินั้นจะทำอยู่ 2 ชั้นด้วยกัน คือ สแตนเลสชั้นนอกตามที่เราเห็นและสแตนเลสชั้นในที่แยกส่วนซึ่งกันละกัน ไม่ได้เป็นวัสดุชิ้นเดียวกันอย่างที่เข้าใจกันนะคะ โดยเหตุผลที่ผลิตออกมา 2 ชั้นนี้เพื่อเป็นการเพิ่มช่องว่างระหว่างกลาง ซึ่งช่องว่างระหว่างกลางนี้ก็จะทำให้เป็นระบบสุญญากาศ กล่าวคือไม่มีอากาศอยู่ภายใน ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ความร้อนหรือความเย็นนั้นไม่สามารถส่งผ่านไปยังสแตนเลสอีกชั้นหนึ่งได้ ดังนั้นของเหลวที่ถูกบรรจุอยู่ภายในแก้วนั้นก็จะมีอุณหภูมิที่คงที่ เกิดอัตราการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่น้อย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้แก้วเยติสามารถกักเก็บและรักษาอุณหภูมิต่าง ๆ ภายในแก้วไว้ได้นานหลายชั่วโมงเลยทีเดียว อีกทั้งเกรดของสแตนเลสที่ใช้ทำแก้วเยตินั้นก็ถือเป็นตัวแปรอย่างหนึ่งในการที่จะทำให้การเก็บรักษาอุณหภูมิของแก้วเยตินั้นเปลี่ยนแปลง  

หลาย ๆ คนก็คงมีคำถามต่อแล้วทำไมได้ตรงกลางระหว่างชั้นของสแตนเลสนั้นเป็นสุญญากาศแล้วทำไมของเหลวภายในแก้วถึงยังคงละลายได้ เหตุผลนั้นก็คือภายในแก้วนั้นไม่มีอุณหภูมิที่ถึงขีดในการรักษาความเย็นในระดับนั้นได้ตลอดเวลา อย่างเช่น การใส่น้ำแข็งภายในแก้วเยติ แล้วปิดฝา จะพบว่าภายในแก้วนั้นมีน้ำแข็งอยู่ก็จริง แต่ก็มีอากาศที่อยู่ในแก้วนั้นด้วย ซึ่งการที่นำแข็งยังสามารถละลายได้นั้นก็เพราะว่ายังคงเกิดการแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างน้ำแข็งและอากาศภายในแก้วอยู่นั่นเองค่ะ อีกทั้งตัวของฝาปิดแก้วเยตินั้นทำมาจากพลาสติก ซึ่งในส่วนการแลกเปลี่ยนความร้อนนั้นก็จะเกิดที่บริเวณนี้ด้วย จึงมักเห็นฝ้าของไอน้ำเกาะที่บริเวณฝา เพราะบริเวณตรงฝานั้นเกิดการแลกเปลี่ยนความร้อนได้ดีกว่าที่ผิวของแก้วเยตินั่นเองค่ะ